รายละเอียดระบบ

ระบบบำบัดน้ำทิ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Water Recycle Plant ) แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรม มีระบบ RO 4 ชุดอัตราการผลิตรวม 10,000 คิวบิกเมตรต่อวัน ซึ่งน้ำป้อนคือน้ำเสียรวมของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

ในนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการบำบัดจนได้มาตรฐานน้ำทิ้งของกรมโรงงาน อุตสาหกรรมแล้ว นำมาผ่านระบบ

กำจัดตะกอนอีกครั้งด้วยถังตกตะกอนแล้วผ่านถังกรองทรายแล้วเข้าเก็บยังถังน้ำป้อน

ปัญหา

หลังจากเริ่มเดินระบบไม่นานพบว่าเกิดการอุดตันขึ้นอย่างรวดเร็วกับระบบ RO ทั้ง 4 ชุด ทำให้ต้องทำการล้าง

RO เมมเบรนอย่างต่อเนื่องหมุนเวียนกันไปทุกวัน คือ วันจันทร์ทำการล้างชุดที่ 1 วันอังคารทำการล้างชุดที่ 1

วันพุทธทำการล้างชุดที่ 3 วันพฤหัสทำการล้างชุดที่ 4 แล้วพอวันศุกร์ก็กลับมาล้างชุดที่ 1 หมุนเวียนกันไป ทำให้

ไม่สามารถผลิตน้ำได้ตามที่ต้องการ สิ้นเปลืองเวลาและสารเคมีที่ใช้ในการล้างอย่างมาก

สำรวจระบบและแก้ไขปัญหา

จากปรสบการณ์ที่ทางทีมงานมีมายาวนานการอุดตันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกับระบบ RO นั้นส่วนใหญ่จะมาจาก

เชื้อจุลินทรีย์เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์จะมีการแบ่งตัวเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมดัง

เช่นใน RO เมมเบรน จึงได้เก็บตัวอย่างน้ำป้อนและน้ำทิ้งของระบบ RO ทั้ง 4 ชุดไปตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์พบเชื้อจุลินทรีย์จำนวมากในน้ำป้อนและในน้ำทิ้งของระบบ RO ซึ่งส่งผลให้เกิดการอุดตันของ RO เมมเบรน จึงได้ทำการแก้ไขโดยให้ควบคุมสารละลายคลอรีนอิสระในถังน้ำป้อน = 0.3-0.5 ppm เพื่อควบคุมจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ให้ลดลงและป้อนสารฆ่าเชื้อที่ไม่ทำลายเมมเบรนอย่างต่อเนื่องและเพิ่มสารฆ่าเชื้อเร็วที่ไม่ทำลายเมมเบรนเพิ่มเข้าไปตอนล้าง RO เมมเบรน

การอุดตันจากเชื้อจุลินทรีย์

เชื้อจำนวนมาก

การอุดตันจากเชื้อจุลินทรีย์

เชื้อจำนวนน้อย

ผลการแก้ไข

สามารถควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของเมมเบรนและลดความถี่ในการล้างเมมเบรนลงจากทุกๆ 3 วันเป็นทุกๆ 3 สัปดาห์

กรณีศึกษาการอุดตันจากเชื้อจุลินทรีย์