- ปั๊มเคมีจะระบุอัตราการปั๊มสูงสุด (ลิตร/ชั่วโมง) ที่แรงดันสูงสุด(บาร์) ที่ป้ายเนมเพลท เช่น 1 ลิตร/ชั่งโมง 16 บาร์ นั่นคือปั๊มตัวนี้จะปั๊มได้ 1.1 ลิตร/ชั่วโมง ที่แรงดัน 16 บาร์ โดยใช้น้ำเป็นมาตรฐาน แต่ถ้านำไปปั๊มสารเคมีที่มีค่าความถ่วงจำเพาะไม่เท่ากับน้ำอัตราการปั๊มก็จะเปลี่ยนแปลงไป
หมายเหตู : ความถ่วงจำเพาะของน้ำ = 1
- ปั๊มเคมีที่มีมาตรฐานดีจะมีปุ่มปรับอัตราการปั๊ม 2 ปุ่ม โดยปุ่มแรกใช้ปรับความถี่ในการปั๊มของไดอะแฟรม 0-100 % (ปรับได้แบบต่อเนื่อง 0-100% แต่ต้องปรับตอนปั๊มเดินอยู่) และปุ่มที่สองใช้ปรับช่วงชักสั้นยาวของไดอะแฟรม 0-100 %(ปรับคลิกละ 25%) แต่ปั๊มเคมีที่มีเฉพาะปุ่มปรับช่วงชักสั้นยาวของไดอะแฟรมก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกัน(ปรับได้แบบต่อเนื่อง 0-100%)
หมายเหตุ : ปั๊มเคมีที่มีปุ่มปรับ 2 ปุ่มจะมีข้อดีกว่ารุ่นที่มีปุ่มปรับเพียงปุ่มเดียวในบางกรณีดังจะกล่าวต่อไป
- การปรับอัตราปั๊มของปั๊มเคมีขนาด 1 ลิตร/ชั่วโมงที่แรงดัน 16 บาร์ให้ปั๊มได้ 0.6 ลิตร/ชั่วโมงที่แรงดัน 16 บาร์
สำหรับรุ่นที่มีปุ่มปรับปุ่มเดียวสามารถคำนวณการปรับ % ช่วงชักได้ดังนี้
สูตรคำนวณ ( อัตราการปั๊มที่ต้องการ/อัตราการปั๊มสูงสุด) x 100 % = % การปรับ
แทนค่า (0.6/1.1) x 100 = 54.54 %
สำหรับรุ่นที่มีปุ่มปรับ2ปุ่มสามารถคำนวณการปรับ % ความถี่และ % ช่วงชักได้ดังนี้
สูตรคำนวณ ((% ความถี่ + % ช่วงชัก)/200) x อัตราการปั๊มสูงสุด = อัตราการปั๊มที่ต้องการ
แทนค่า ((% ความถี่ + 50)/200) x 1.1 = 0.6
%ความถี่/200 + 0.25 =( 0.6/1.1)
%ความถี่/200 =(0.6/1.1) – 0.25
%ความถี่ = 0.29 x 200
= 59
หมายเหตุ : การเลือกแทนค่า % ช่วงชักที่ 50 % แทนค่าในสูตรตั้งแต่แรกก็เนื่องจากการปั๊มจะราบเรียบดีและสม่ำเสมอก็ต่อเมื่อ % ช่วงชักอย่างน้อย 50 % ถ้าต่ำกว่านี้อาจทำให้ปั๊มไม่ขึ้นหรืออัตราการปั๊มไม่คงที่ ส่วน % ความถี่นั้นสามารถปรับให้ต่ำกว่า 50% ได้โดยไม่ส่งผลต่อการปั๊ม
- ในกรณีที่ต้องการปรับอัตราการปั๊มต่ำมากเช่น 35 ลิตร/ชั่วโมง ถ้าใช้ปั๊มที่มีปุ่มปรับช่วงชักปุ่มเดียวก็ต้องปรับ = (0.35/1.1) x 100 = 31.82 % ซึ่งช่วงชักต่ำกว่า 50% อาจส่งผลในการปั๊มตามที่กล่าวไว้แล้ว
แต่ถ้าใช้ปั๊มรุ่นที่มีปุ่มปรับ 2 ปุ่ม เราจะตั้ง % ช่วงชักไว้ที่ 50% และ % ความถี่ = 13.64 % ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วหารด้วย 2 จะได้ 31.82% ตามที่ต้องการดังนี้ (50+13.64)/2 = 31.82 %